ปีที่ผ่านมา แนวคิด proficiency English เป็นแนวคิดหลักที่เริ่มนำมาใช้กับการเรียน ESL และลองใช้ทุกระดับชั้นในมัธยม การเน้น proficiency หรือความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาก็เพื่อให้เด็กใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือสื่อสารได้จริงๆ เรื่อง grammar เดี๋ยวจะไหลมาเทมาเอง
ผล 1 ปีที่ผ่านมาโดยรวมก็พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีขึ้นจริง เด็กที่ชอบอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ และมีทักษะการสังเกตที่ดี ก็จะพัฒนา grammar ตามไปด้วย
มีหนังสือชุดหนึ่งของ Se-ed ชื่อชุด Genius Reader ซึ่งเราใช้สำหรับส่งเสริมการรักการอ่าน มีคำศัพท์แปลให้อยู่ข้างๆ key words ก็มีการเน้นตัวหนังสือให้ เรียกว่า อ่านแบบไม่มีสะดุดกับการเปิดพจนานุกรมหาคำแปล แถมมี CD ให้อีก อ่านไปฟังไป ก็ได้ยินการออกเสียง เอามาทดลองกับเจ้าซาร่าก็พบว่าใช้ได้ดีทีเดียว
แต่เด็กที่ไม่ค่อยมีทักษะการสังเกต ก็จำเป็นต้องให้คุณครูช่วยสรุป grammar ให้ด้วย ส่วนเด็กโต ที่ต้องการฐาน grammar เข้มข้นสำหรับไปสู้กับโจทย์ยากๆ ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็จำเป็นต้องให้ครูเติมให้เป็นเรื่องเป็นราว ... แต่ยังไงก็ต้องย้ำว่า ทั้งหลัก กฎ โครงสร้าง เงื่อนไขทางไวยากรณ์ ฯลฯ ที่ต้องท่องกันกระหน่ำนั้น ไม่มีประโยชน์เลยหากใช้งานไม่ได้
No comments:
Post a Comment