มีคนแปล learning style ว่า ลีลาการเรียนรู้ มีคำอธิบายต่างๆ กันไป บางทีก็อิง multiple intelligence หรือทฤษฎีอิงบุคลิกภาพ แต่ที่เห็นภาพร่วมๆ กันคือการแบ่งวิธีการเรียนรู้เป็น 3-4 กลุ่ม
- Visual (spatial) learner: กลุ่มนี้เรียนได้ดีถ้ามีภาพประกอบ
- Kinesthetic (movement) learner: กลุ่มนี้ต้องมีการเคลื่อนไหว ให้จับ ให้ทำด้วย ให้นั่งนิ่งๆ คงแย่แน่นอน
- Verbal (language) learner: กลุ่มนี้มีความจำค่อนข้างดี ทั้งจากการฟังและการอ่าน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าใจ ดังนั้นต้องให้เด็กกลุ่มนี้ได้อธิบายขยายความด้วย เพื่อให้มั่นใจว่า เข้าใจ และประยุกต์ได้
- Logical learner: กลุ่มนักเชื่อมโยง เช็คความเป็นเหตุเป็นผล เข้าใจเรื่องกฎเกณฑ์ข้อตก เขาสามารถเชื่อมโยงและเข้าใจได้ถ้ามีไดอะแกรม หรือชาร์ทแบบ mindmap หรือโยงผังความคิดสารพัดแบบประกอบไปด้วยก็จะเรียนรู้ได้ดีมาก
เด็กแต่ละกลุ่มจะเรียนรู้ได้ดีในสิ่งแวดล้อม หรือวิธีการเรียนรู้ที่ถนัด แต่อย่าลืมว่า ละแบบก็มีข้อเด่นและข้อจำกัดของตัวเอง เด็กคนไหนที่สามารถพัฒนาลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายก็จะปรับตัวได้ดีในสถานการณ์ต่างๆ กัน
การรู้ว่าลูกเรา หรือนักเรียนคนนี้เป็นกลุ่มลีลาการเรียนรู้แบบไหนไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ถ้าคิดว่าลูกเป็นพวก Kinesthetic ก็ให้ครูเน้นการเคลื่อนไหว แต่ลองนึกภาพว่า เขาจะเรียนอย่างไรเมื่อเข้ากลุ่มที่เรียนด้วยการ lecture ถ้าไม่ได้ฝึกการเรียนรู้ด้วย verbal, visual, และ logical style ในทำนองเดียวกัน เด็ก logical ที่สนุกกับการคิดวิเคราะห์ ชอบแยกแยะ เปรียบเทียบ แต่ verbal กับ visual ไม่ดี การคิดวิเคราะห์อาจจะขาดความถูกต้องแม่นยำ และสื่อสารกับคนอื่นไม่ค่อยได้ ก็จะกลายมาเป็นข้อจำกัดของลูกเรา
พ่อแม่ และครูที่ยอมจำนนกับลีลาการเรียนรู้ดั้งเดิมของลูก โดยเฉพาะพวกที่บอกว่า เขาก็เป็นแบบนี้หละค่ะ คงมีปัญหาระยะยาว เพราะทักษะหลายเรื่องไปเรียนรู้เอาตอนโตนั้นยากกว่าเริ่มฝึกหัดกันตั้งแต่เล็ก อย่างช้าที่สุดก็มัธยมเนี่ยหละที่ต้องเริ่มแล้ว
No comments:
Post a Comment