|
นาลอยน้ำ อายุ 4 สัปดาห์ |
ในยามที่คนไทยต้องประสบภาวะวิกฤตจากภัยธรรมชาติจนไม่เหลือพื้นดินไว้ให้ปลูกข้าว
ก็ดูเหมือนว่า คนในศูนย์ภูมิรักษ์คงยังพอจะมีข้าวจากนาลอยน้ำ แต่วิธีการทำอย่างไร ต้องให้นักเรียนเพลินฯ
ช่วยกันอธิบาย
|
สุมหัวกันจริงๆ |
|
|
|
|
เย็นวันแรกของภาคสนาม เราแบ่งเป็น 11 กลุ่ม คละชั้นเรียน พร้อมกระดาษ flip chart กลุ่มละใบ และสีชอล์คหรือสีเมจิก แต่ละกลุ่มมีเวลา 2 นาทีที่จะอธิบายให้แม่ต้นเข้าใจว่า
นาลอยน้ำคืออะไร ทำอย่างไร เด็กแต่ละกลุ่มมีวิธีการอธิบายด้วยรูปแบบต่างๆ กัน บางกลุ่มก็ทำ concept map บางกลุ่มก็ทำ list โยงให้ดู บางกลุ่มใช้การวาดภาพ ฯลฯ แต่เมื่อครบ 2 นาทีแล้ว ก็ให้ส่งกระดาษนั้นต่อไปให้กลุ่มที่อยู่ทางซ้ายมือ เพื่อเติมต่อส่วนที่ขาดหายไป
|
|
|
ทีมนี้ เริ่มด้วย concept map | |
เราทำอย่างนี้อยู่ประมาณ 6-7 รอบ
แม่ต้นขอให้แต่ละกลุ่มหากระดาษของตัวเองให้เจอ เพื่อจะได้ดูว่า เพื่อนได้เติมอะไรให้กับงานของเราบ้าง เห็นไหมว่า ภาพของเราสมบูรณ์ขึ้นเพราะมีคนช่วยกันเติม แม่ต้นจบกิจกรรมนี้ด้วยการให้นักเรียนสรุปบทเรียนจากศูนย์ภูมิรักษ์ฯ
|
ทีมนี้เน้นการเติมภาพให้งานของทีมอื่นๆมีชีวิตชีวา |
ได้ความว่า นาลอยน้ำมี
หลักการคือ การสร้าง "ผืนนา" ที่ลอยน้ำได้ ใช้ดินที่ผลิตขึ้นเองในภาวะที่ดินขาดแคลน (เพราะน้ำท่วมหมด) เมื่อเข้าใจหลักการนี้ก็หาวัสดุมาทำ ที่เห็นวันนี้ คือขวดน้ำพลาสติกปิดฝาใช้ทำเป็นทุ่นอยู่ชั้นล่างสุด แล้วเอาเชือกมามัดไม้ไผ่หรือท่อPVC ไว้เพื่อทำหน้าที่ช่วยพยุงที่นา และเป็นขอบกระบะกันดิน
ดินนี้ก็ผสมขึ้นมาจากผักตบชวา หญ้าแห้ง ดิน จอกแหน
เมื่อเตรียม "ที่นา" แล้วก็เอาข้าวมาปลูกได้ ไม่กี่เดือนก็จะได้ข้าวเอามากิน คุณลุงปัญญาบอกว่า วันใดที่น้ำท่วมมากๆ คุณลุงก็เอาบ้านแพที่มีนาข้าวไปเยี่ยมหลานๆ แล้วก็แบ่งข้าวกันกิน ถ้าทุกคนทำเป็น เราก็ไม่อดตาย
|
ดูข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้นจากการเติมเต็ม |
นับว่าเป็นกิจกรรมสรุปการเรียนรู้ที่ดีมาก เพราะเด็กๆ ได้ฝึกสรุปสาระ และยังพัฒนาวิธีการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นผลงาน "ของเรา" ทุกคน
เราสรุปกันว่า เพราะงานของ
เราไม่ perfect ที่เราต้องทำงานกับคนอื่น เรียนรู้จากคนอื่น เป็น
การเติมเต็มกันและกัน แต่ เราต้องเริ่มต้นด้วยตัวเอง โดยไม่คอยให้ใครมาเริ่มให้เรา
No comments:
Post a Comment