โจทย์ต่อเนื่องจาก field trip: ดินเทศที่บ้านปราสาท
หลุมที่ 1 มีโครงกระดูกซ้อนกันหลายชั้น 3,000 ปี |
คำตอบ: "พิธีกรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิมมักใช้สีแดงเป็นองค์ประกอบแพร่หลาย มาตั้งแต่ราว 18,000 ปีมาแล้ว สีแดงที่ได้มาจากแร่ เฮมาไทด์(Hematite) หรือเรียกกันว่า ดินเทศ (Red Ochre) เป็นธาตุประกอบของเหล็กที่อยู่ในดิน พบได้ทั่วไป ในประเทศไทยพบที่แหล่ง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช, เขาทับควาย จ.ลพบุรี, อ.ลานศักดิ์ จ.อุทัยธานี รวมทั้งใน จ.เลย, จ.เชียงใหม่, จ.สุราษฏร์ธานี, จ.สุโขทัย และ จ.นครสวรรค์
ส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายนิยมใช้ดินเทศโรยหรือป้ายบนศพ เช่น บนโครงกระดูกพบที่จังหวัด Thanh Hoa บริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนาม, ในรัฐกลันตัน และรัฐซาราวัค ของมาเลเซีย รวมถึงหลายประเทศในผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์และคาบสมุทรมลายู" (เจนจิรา เบญจพงศ์ http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2011/06/10062554/)
close-up หลุม 2 |
จำได้ว่า Hematite เป็น iron oxide อยู่ในดินและหิน อาจารย์บอกว่ามาจากภาษากรีก Hema แปลว่าเลือด ก็เป็นสีแดงเหมือนเลือด ที่เชื่อกันว่า จะให้พลังกับวิญญาณของผู้ตาย ที่หลุมขุดค้นบ้านปราสาทซึ่งมีอายุประมาณ 3,000 ปี ทั้งศพเด็กและผู้ใหญ่จะพบร่องรอยของ 'ดินเทศ' อยู่โหนกแก้ม และข้างศพบริเวณท่อนบนของร่างกาย เช่น ซี่โครง แต่ไม่มีที่ท่อนล่าง บางโครงก็มีหม้อดินเข้าใจว่า เป็นเครื่องสังเวย หรือเป็นเสบียงสำหรับเดินทางไปสู่อีกโลกหนึ่ง
หลุมนี้มีโครงกระดูกเด็กๆ ด้วย |
แต่หลุมที่น่่าเอามาเขียนนิยายต่อคือ หลุม 3 ที่มีศพผู้ใหญ่ และเด็ก หนึ่งในศพผู้ใหญ่ไม่มีหัว ซึ่งก็ไม่ทราบความเป็นมา ถ้าไม่หายไปสมัยหลัง ก็เป็นไปได้ว่า อาจจะเป็นการฆาตกรรม หรือการประหารชีวิต (มัคคุเทศน์ตัวน้อยว่าอย่างนั้น) ถ้าเป็นการประหารชีวิตหัวหน้าครอบครัวพร้อมทั้งครอบครัวก็อาจเป็นไปได้ แต่ทำไมจึงมีการฝังอย่างเป็นระเบียบ ... อาจเป็น somebody ของชุมชน เพราะมีเครื่องประดับมากมาย กึ๋ยยย
No comments:
Post a Comment